bookmark_borderIntroduction to Kubernetes – Chapter 1 From Monolith to Microservices

https://davidxiang.com/2022/01/24/monolith-to-microservices/

 

 

 

 

 

เกริ่นนำ

ตอนนี้หลายๆ บริษัทนั้นเอาระบบงานของตัวเองไปรันอยู่บน Cloud เช่นเหล่า Startup ต่างๆ รวมไปจนถึงบริษัทระดับ Enterprise ที่เริ่มมองเห็นแนวโน้มที่จะย้ายระบบต่างๆ ที่ตัวเองมีนั้นไปอยู่บน Cloud แต่ก็ไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะย้ายไป Cloud ได้ง่ายๆ เพราะระบบงานต่างๆ ที่ใช้งานมานานนับสิบๆ ปีหรือมากกว่านั้นถูกพัฒนาด้วยเทคฯ เก่า และที่สำคัญคือมันเป็น Monolithic Applications

Monolith นั้นคืออะไร มันก็คือระบบงานที่มี Component หลายๆ ตัวรวมอยู่ในระบบงานเดียวและที่สำคัญมันมักจะพันกันวุ่นวายไปหมด ผลลัพธ์ของมันก็คือมันมักจะใช้ Resources เช่นพวก Hardware เปลืองและบริหารจัดการยากไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่ม Feature หรือการ Deploy ระบบ

ลองนึกภาพตามกันดูว่า ถ้าบริษัทเรามีระบบงานนึงซึ่งมันทำงานแบบ “Black Box” น่ะครับ คือไม่มีใครรู้ว่าข้างในมันทำอะไรบ้างและที่สำคัญคือไม่มีเอกสารบอกเลยว่า Business logic ต่างๆ ที่อัดแน่นอยู่ในนั้นมันมีอะไรบ้าง
ทุกคนก็จะมึนๆ แล้วก็จะสงสัยว่าพอเรา Request ไปที่เจ้า App ตัวที่ว่าเนี่ยมันไปทำอะไรบ้างก็ไม่รู้ จะมารู้อีกทีก็ตอนเห็น Response ออกมานั่นแหละครับ แล้วลองนึกดูว่าถ้าคุณจะต้องเป็นคนที่มาทำให้ไอ้เจ้า “Black Box App” ที่ว่านี้ไปทำงานอยู่บน Cloud คุณจะต้องฝ่าด่านอรหันต์กี่ด่าน…

Continue reading “Introduction to Kubernetes – Chapter 1 From Monolith to Microservices”

bookmark_borderและแล้วผมก็กลับมาเขียนอีกครั้ง

สวัสดีทุกท่านที่หลงเข้ามา ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจก็ตามฮาๆ ก่อนอื่นก็ขอเกริ่นเอาไว้สักหน่อยว่าตัวผมเองก็ห่างหายไปจากการเขียน blog มานานพอสมควร เพราะตัว blog เดิมที่เขียนเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ pokpitch.com นั้นก็เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ iPhone ซะเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็ปล่อยให้เวบมันหายไปหลายปีเลย

กลับมารอบนี้ก็ตั้งใจว่าจะเขียนเนื้อหาทั่วไปที่ตัวเองกำลังสนใจอยู่ ก็เลยถือโอกาสเลือกเรียนเรื่อง Kubernetes ก็แล้วกัน โดยส่วนตัวแล้วก็เลือกเรียนคอร์สของ Linux Foundation ซึ่งเป็นคอร์สเริ่มต้นตามชื่อเลย Introduction to Kubernetes ซึ่งฟรีนะ แต่ถ้าหากอยากจะสอบเพื่อเอา Certificate ก็เพิ่มเงินราว $USD 160 แหละ แต่ผมขอเรียนฟรีๆ ไปก็พอ 555

Continue reading “และแล้วผมก็กลับมาเขียนอีกครั้ง”